เมนู

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม ที่เกิดหลัง ๆ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.
อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ ปัญจวิญญาณ ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
4. นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย

คือ จุติจิตที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ อุปปัตติจิตที่เป็น
นเหตุสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.
อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของอนันตรปัจจัย.
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ วุฏฐานะที่เป็น
นเหตุสเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอนันตรปัจจัย.

4. สมนันตรปัจจัย


[148] 1. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย.


5. สหชาตปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

ในที่นี้ปัจจัยสงเคราะห์ ไม่มี พึงกระทำเป็น 7 วาระ.

6. อัญญมัญญปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย

พึงกระทำเป็น 6 วาระ.

7. นิสสยปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของนิสสยปัจจัย

พึงกระทำปวัตติ และ ปฏิสนธิ ทั้ง 7 วาระ ในที่นี้ปัจจัยสงเคราะห์
ไม่มี.

8. อุปนิสสยปัจจัย


[149] 1. นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ.
บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลาย
สงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ ศรัทธา ฯลฯ แก่ความ
ปรารถนา แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.